‘New Normal’ การศึกษาไทย กับ 4 รูปแบบใหม่การเรียนรู้

by

โกลบิช ชี้วิกฤติโควิด-19 ผลักดันผู้คนเข้าสู่ระบบออนไลน์เพื่อปรับตัว การศึกษาไทยจะเกิด New Normal ที่สอดรับกับวิถีชีวิตใหม่ ด้วย 4 รูปแบบการเรียน ซึ่งเป็นผลจาก Social distancing 

นายธกานต์ อานันโทไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด (Globish) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกเป็นเวลายาวนานกว่า 5 เดือน ได้ส่งผลให้ผู้คนได้เรียนรู้ว่า ออฟไลน์ “ดีกว่า” อาจไม่ใช่อีกต่อไป และ ออนไลน์กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ

 

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-.jpg
ธกานต์ อานันโทไทย

นอกจากนี้ การเรียนออนไลน์จะไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดของการศึกษาไทย และได้กลาย New Normal ของศึกษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยจากสถิติล่าสุดช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลให้หลายโรงเรียนต้องปิดการสอนชั่วคราว

แต่การเติบโตของห้องเรียนของ Globish เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 35% จากเดือนมีนาคม และจำนวนนักเรียนใหม่ยังเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 207% ทำให้ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงปัจจุบัน มีห้องเรียน One-on-One เกิดขึ้นมากกว่า 500 ห้องเรียนต่อวันและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดีโรงเรียนต่าง ๆ กำลังกำหนดแนวการเรียนการสอนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำเนินการเรียนการสอนต่อไปได้ โดยในมุมมองของ Globish รูปแบบการเรียนการสอนหลังโควิด-19 จะมี 4 รูปแบบ ที่สอดคล้องกับ New normal ประกอบด้วย

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/6.-Globish.jpg

1. การเรียนผ่านระบบออนไลน์ 100%

รูปแบบดังกล่าว เหมาะกับโรงเรียนที่มีความพร้อมทั้งด้านระบบการเรียนการสอนและหลักสูตรสำหรับการเรียนผ่านระบบออนไลน์ ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนผ่านระบบออนไลน์ และผู้ปกครองต่างมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุน รวมทั้งมีเครื่องมือสนับสนุนการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บแลต สมาร์ทโฟน และ อินเทอร์เน็ต

ขณะที่การเรียนการสอนจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการเรียนให้มีความน่าสนใจ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนแบบออนไลน์ที่ผ่านมามีหลายโรงเรียนนำร่องเปิดการเรียนแล้ว เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและครูสามารถปรับตัว

2. การเรียนในห้องเรียน

เหมาะสำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนไม่มาก และพื้นที่มากพอให้สามารถปฏิบัติตามนโยบาย Social distancing เพื่อรักษาระยะห่าง และการดูแลสุขอนามัยของนักเรียนได้อย่างเข้มข้นและเคร่งครัด ควบคู่กับการให้นักเรียนทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัย และหมั่นทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/04/fig-29-04-2020_08-36-27-e1588149568309.jpg

 

นอกจากนี้ ทางโรงเรียนต้องหมั่นฆ่าเชื้อโรคทุกจุดในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดซ้ำ

3. การเรียนแบบผสมผสานออนไลน์และออฟไลน์

เหมาะสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีจำนวนนักเรียนมาก และไม่มีประสบการณ์จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มาก่อน ดังนั้นจึงควรแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อสลับวันให้นักเรียนมาเรียนที่โรงเรียน กลุ่มละ 2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ 3 วันที่เหลือให้นักเรียนเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์จากที่บ้าน

ทั้งนี้เพื่อให้วันที่นักเรียนมาเรียนที่โรงเรียน ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบรักษาระยะห่างได้ รวมทั้งสามารถดูแลสุขอนามัยของนักเรียนอย่างเข้มข้น และเพื่อการเรียนรู้ที่ได้ประสิทธิผล แนะนำให้โรงเรียนเลือกวิชาที่มีการปฏิบัติหรือต้องทำงานร่วมกันมาจัดการเรียนในห้องเรียน ในขณะที่วิชาอื่นให้จัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/4.-Globish-.jpg

4. การเรียน Home School

คาดว่าการเรียนการสอนในรูปแบบนี้จะมีเพิ่มขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากผู้ปกครองอาจจะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของบุตรหลานจากโรคภัยไข้เจ็บ มลพิษมลภาวะ และภัยคุกคามอื่น โดยผู้ปกครองจะมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งอาจจะเป็นการเรียนคอร์สออนไลน์ควบคู่กับการจัดครูเฉพาะวิชาเข้ามาสอนบ้านที่ตอบโจทย์รูปแบบการเรียนรู้ของลูกมาประยุกต์กับหลักสูตรของกระทรวงการศึกษา

การเรียน Home School เหมาะกับกลุ่มเด็กมีความต้องการพิเศษ และเด็กที่มีปัญหาโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงหากต้องออกไปเรียนที่โรงเรียน

“โควิด-19 คือตัวแปรสำคัญ ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้คนในทุกเพศทุกวัย และยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการเรียนรู้ เนื่องจากในวิกฤตครั้งนี้ได้นำพาผู้คนเข้าถึงโลกออนไลน์มากขึ้น เกิดการเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อรองรับการทำงานและการเรียนจากที่บ้าน”นายธกานต์ กล่าว

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/3.-Globish-.jpg

พร้อมกันนี้ยังส่งผลให้องค์ความรู้ต่างถูกพัฒนาขึ้นไปอยู่บนระบบออนไลน์ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของคน ส่งผลให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ง่ายขึ้นในทุกที่ทุกเวลา

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการพัฒนาการเรียนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพโดยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบอินเทอร์แอ็คทีฟ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับผู้สอนเสมือนหรือดีกว่าการเรียนในชั้นเรียน

Share