แนะ 5 เคล็ดลับ ‘ฝ่าโควิด-19’ เปลี่ยนวิถีส่งออก ‘สินค้าความงาม’

by

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึง ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย

ข้อมูลล่าสุดจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ความงาม และเครื่องสำอางลดลง 5.7% ในไตรมาสแรกของปี 2563 โดยรายงานของเว็บไซต์ CosmeticsDesign-Asia.com[2] พบว่า โควิด-19 ส่งผลให้ตลาดเครื่องสําอางสําหรับการแต่งหน้าและน้ำหอมชะลอตัว เนื่องจากคนทํางานจากที่บ้านมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ขณะที่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณ และสุขอนามัยส่วนบุคคลมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้น

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%87.jpg

สำหรับอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกายนั้น ปัจจุบันการป้องกันสุขภาพและสุขอนามัยได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักและรับรู้เรื่องของการป้องกันสุขภาพ และความปลอดภัยเพิ่มขึ้น พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อความงามจึงเปลี่ยนเป็นการมุ่งเน้นที่ “สุขภาพและสุขอนามัย” มากกว่า และเทรนด์นี้ีมีแนวโน้มต่อเนื่องในระยะยาว

ในขณะเดียวกัน ผู้คนมีเวลาให้กับตัวเองหรือให้ความสําคัญกับการดูแลตัวเอง (me-time) มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ประเทศและการรักษาระยะห่างทางกายภาพในสังคม

นี่คือโอกาสครั้งสำคัญสําหรับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ด้านความงาม เครื่องสําอาง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาผิวพรรณที่จะได้นําเสนอสินค้าที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียหรือรักษาความชุ่มชื้น หรือแม้กระทั่งชุดดูแลผิวด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการบํารุงผิวหน้า ผิวกาย ผม เล็บ ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาสร้างบรรยากาศในการดูแลตัวเองอย่างผ่อนคลายเหมือนทําสปาที่บ้าน

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/11-4.jpg

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า เห็นสัญญาณมากมายในอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายที่ยังมีโอกาสฟื้นตัวจากสถานการณ์วิกฤตในปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงมองหาความพึงพอใจจากการดูแลตัวเอง หรือการทำทรีตเมนต์ขณะอยู่ที่บ้าน

ความต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายยังคงมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญของแบรนด์ในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจกับประเทศที่กำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาด เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม เป็นต้น

ทั้งนี้ ดีเอชแอล ได้แนะนำ 5 เคล็ดลับส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ช่วยให้พิธีการศุลกากรเป็นเรื่องง่าย และส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าของคุณได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีอุปสรรค ดังนี้

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/11100047_TH_CUSTOM_TIPS_TH_POSTER_A4_V1.jpg

 

1. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนรุก เข้าใจกฏระเบียบและข้อบังคับของตลาด

ทำความเข้าใจกฎระเบียบและข้อบังคับของประเทศปลายทาง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มส่งสินค้าไปขาย หรือส่งให้ผู้รับที่ต่างประเทศเป็นครั้งแรก มิฉะนั้น คุณอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เกิดความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้า หรือแม้แต่ต้องส่งสินค้ากลับไปประเทศต้นทาง

2. มองหาตัวช่วยจากหน่วยงานศุลกากรท้องถิ่น

เอสเอ็มอีเผชิญกับข้อกําหนดในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่ซับซ้อนมากขึ้น แม้ว่าสินค้าจะถูกส่งถึงประเทศปลายทางแล้ว แต่ต้องเป็นไปตามข้อกําหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ผู้ประกอบการควรใช้โอกาสจากการได้รับคำปรึกษาฟรีจากหน่วยงานต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วย

3. ใช้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรที่เหมาะสำหรับผู้ส่งออกประเภท B2C

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/01/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg

เมื่อเอสเอ็มอีส่งออกโดยตรงไปยังผู้บริโภคในประเทศต่างๆ มักจะนําโมเดลที่เรียกว่า “Duty and Tax Paid on Import” มาใช้  หมายความว่าผู้ประกอบการมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเกี่ยวกับการเดินพิธีศุลกากรในประเทศปลายทางทั้งหมดแทนที่จะให้ผู้ซื้อเป็นคนจัดการ เอสเอ็มอีต้องสื่อสารกับตัวแทนต่างๆ มากมายเพื่อจัดการเกี่ยวกับภาษีอากร และขั้นตอนพิธีการทางศุลกากรอื่นๆ การทํางานกับผู้ให้บริการเดียวที่สามารถให้บริการแบบ door-to-door ตั้งแต่รับของจากผู้ส่ง ดําเนินการส่งของเข้าไปยังประเทศปลายทางและส่งของถึงมือผู้รับ

4. ลองประยุกต์ใช้โมเดลการขายแบบ B2B

การจัดการด้านศุลกากรอาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากสําหรับธุรกิจแบบ B2C ซึ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้ได้ด้วยการส่งออกไปยังผู้จัดจําหน่ายในพื้นที่ โดยทั่วไปผู้จัดจําหน่ายมักจะมีประสบการณ์ตรง หรือมีคําแนะนําที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือตลาดนั้นๆ และอาจอํานวยความสะดวกให้คุณได้มากกว่าหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเอื้อให้เอสเอ็มอีได้ประโยชน์ตรงที่สามารถเร่งครื่องทําธุรกิจ และขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/05/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD.jpg

บางครั้งการมีพาร์ทเนอร์ด้านการจัดจําหน่ายเพิ่มเข้ามาแล้วจะทําให้สัดส่วนกําไรของคุณลดลง แต่ก็แลกมาซึ่งความมั่นใจในการทําธุรกิจ ทําให้เอสเอ็มอีทำการส่งออกสินค้าได้เป็นจํานวนมาก และสามารถขยายส่วนแบ่งการตลาดในประเทศใหม่ๆได้อย่างราบรื่น

5. อย่ากลัวที่จะเติบโตอย่างยิ่งใหญ่

เมื่อเอสเอ็มอีสั่งสมความรู้และประสบการณ์ด้านการส่งออกเรื่องการเดินพิธีศุลกากรในแต่ละประเทศปลายทาง และกฏระเบียบการนำเข้าในแต่ละประเทศที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของตนเองจนคล่องแล้ว มั่นใจได้ว่าเอสเอ็มอีจะสามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ๆ ในประเทศใหม่ๆ ได้เร็วกว่าที่เคยเป็น

การพัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ศุลกากรต้องการก่อนทำการค้าขายกับลูกค้าปลายทาง และการทํางานกับโลจิสติกส์พาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิดเป็นโอกาสที่เอสเอ็มอีจะได้เติมเต็มประสบการณ์ด้านการส่งออก การนำความรู้และประสบการณ์มาปรับใช้เป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลกได้

Share