https://www.dailynews.co.th/admin/upload/20200527/news_OuqlVMMmWN145919_533.jpg?v=20200528093

"เขมทัตต์" แจงกรณีเยียวยา คลื่น 2600 MHz

ผู้บริหารอสมท แจงกรณีเยียวยา คลื่น 2600 MHz ยืนยันว่าปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบอำนาจและความรับผิดชอบที่ถูกต้องเพื่อรักษาผลประโยชน์ขององค์กรมาโดยตลอด

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.อสมท ได้ออกหนังสือชี้แจงกรณีเยียวยา คลื่น 2600 MHz  โดยระบุว่า จากกรณีที่ นายสุวิทย์  มิ่งมล  ประธานสหภาพแรงงาน บมจ.อสมท  ออกแถลงการณ์ ในประเด็นที่ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท ไม่รักษาผลประโยชน์ของ อสมท เกี่ยวกับวงเงินเยียวยาคลื่น  2600 MHz และไม่นำเสนอให้คณะกรรมการ บมจ. อสมท ให้ทราบนั้น  นายเขมทัตต์  พลเดช  กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท ในฐานะที่ได้มอบหมายจากผู้ถือหุ้นในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น   ขอเรียนชี้แจงให้ทราบข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้

1.ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปี 2561  อสมท ได้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ ในการประกอบกิจการมาโดยตลอด   แต่ไม่สามารถประกอบกิจการจริงได้ เนื่องจากได้รับอนุญาตในเรื่องต่างๆ จาก กสทช. ไม่ครบถ้วน จนกระทั่ง เดือนมกราคม 2562 อสมท สามารถเริ่มทำการทดลองประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ได้โดยมี AIS และ TRUE เป็นพันธมิตรให้บริการโครงข่ายแล้ว แต่ในเดือนเมษายน 2562

กสทช. ก็ใช้อำนาจตามกฎหมายโดยมีมติเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600  MHz เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ในกิจการโทรคมนาคม  เพราะสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติและสังคมมากกว่าการใช้ในกิจการโทรทัศน์แบบเดิม ซึ่งในกระบวนการ การเรียกคืนและการคำนวณมูลค่าชดเชยเยียวยา กสทช. ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการฯ อันประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ 7 แห่ง ซึ่งมีความเป็นกลาง เป็นผู้พิจารณาเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการทดแทน ชดใช้หรือจ่ายค่าตอบแทนการเรียกคืนคลื่นความถี่

2.อสมท.ได้จัดทำ และจัดส่งข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเข้าชี้แจงเพิ่มเติมเป็นจำนวน หลายครั้ง ทั้งในชั้นการพิจารณาของที่ปรึกษาของ กสทช. และในชั้นการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งหลักฐาน ข้อเท็จจริง และความเห็นของ อสมท ที่ได้เคยนำเสนอและให้การไปแล้วทั้งหมดนั้น ได้

รวมถึงสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ และมูลค่าความเสียหายและเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจาก การถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz โดยการจัดทำ และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของ อสมท ต่อ คณะอนุกรรมการฯ ถูกดำเนินการโดยบุคคลากรของ อสมท ที่มีความชำนาญและเป็นผู้รับผิดชอบต่อโครงการโดยตรง และกระทำอยู่ภายใต้อำนาจที่ได้รับมอบหมายมาจากคณะกรรมการ  บมจ.อสมท ทั้งสิ้น 

3.ในเรื่องมูลค่าและวิธีการชดเชยเยียวยานั้น กสทช. ยังไม่เคยแจ้งอย่างเป็ นทางการให้ อสมท ทราบเลยวา อสมท จะได้ค่าชดเชยเยียวยาเท่าใด จะมีเพียงข้อมูลตามข่าวซึ่งไม่สามารถยืนยันความถูกต้อง และน่าเชื่อถือของข้อมูลได้ ดังนั้น อสมท จึงยังไม่สามารถนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการ  บมจ.อสมท ได้อีกทั้งเรื่องมูลค่าการชดเชยเยียวยาดังกล่าวนั้น อสมท ไม่สามารถพิจารณาความเสียหาย หรือเสียโอกาสในส่วนของคู่สัญญาแต่ละรายได้

เนื่องจากคู่สัญญาแต่ละรายมีค่าเสียหาย การลงทุน และ การประเมินมูลค่าความเสียโอกาสที่เป็นของตนเอง อีกทั้งค่าชดเชยเยียวยาของ กสทช. ก็เป็นสิ่งที่อยู่นอกข้อตกลงในสัญญา อสมท จึงไม่สามารถกำหนดข้อตกลงดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวเพราะจะทำให้เกิดข้อพิพาททางกฎหมายกับคู่สัญญาได้

 ดังนั้น อสมท จึงสามารถพิจารณาได้เฉพาะมูลค่าชดเชยเยียวยาในส่วนที่เป็นของ อสมท เท่านั้น ว่ามูลค่าการชดเชยเยียวยาที่ กสทช. จะจ่ายให้กับ อสมท มีความเหมาะสมและยุติธรรมหรือไม่ และหาก กสทช. พิจารณามูลค่าชดเชยเยียวยาในส่วนของ อสมท ไม่เหมาะสมยุติธรรม อสมท ก็จะสงวนสิทธิ์ อุทธรณ์หรือดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในส่วนของ อสมท ต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

4. สัญญาทางธุรกิจระหว่าง อสมท และคู่สัญญา เป็นสัญญาที่ กสทช. ได้ตรวจสอบและรับรองความชอบของสัญญาแล้ว และเป็นสัญญาที่ถึงแม้จะมีข้อตกลงห้ามเปิดเผยสัญญา แต่ตัวแทนสหภาพฯ และคณะกรรมการ บมจ.อสมท หลายท่าน ก็ได้ขอดูและตรวจสอบสัญญามาแล้วหลายครั้ง  

อีกทั้ง อสมท ยังได้ ตกลงกับคู่สัญญาเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้เพิ่มผลประโยชน์ในส่วนของ อสมท ไปแล้วเมื่อปี 2559 ตามมติของคณะกรรมการ บมจ.อสมท ในขณะนั้น  ดังนั้น เมื่อคลื่นความถี่ย่าน 2600  MHz อันเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของสัญญาได้ถูกเรียกคืนไปแล้ว  

สัญญาดังกล่าวจึงต้องเป็นอันสิ้นสุดลง เพราะขาดองค์ประกอบที่สำคัญของสัญญา และสิ่งที่ต้องดำเนินการ ต่อไป คือการตกลงกับคู่สัญญาเพื่อชดเชยเยียวยาค่าเสียหายหรือค่าเสียโอกาสอันเกิดจากการสิ้นสุดของ สัญญาดังกล่าว ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวเป็ นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ กสทช. โดยตรง หาก อสมท ดำเนินการเอง จะก่อให้เกิดปัญหาวุ่นวายและข้อพิพาทกับคู่สัญญาได้

5. กรณีที่มีข่าวออกไปว่า อสมท ไม่ยอมกำหนด  “แบ่ง” เงินชดเชยเยียวยานั้น เนื่องจาก อสมท   ไม่มีเหตุผลใดให้ไปรอนสิทธิ์ ของคู่สัญญาหรือผู้เสียหายรายอื่น “อสมท ต้องมุ่งไปที่การรักษาสิทธิ์ของตนเอง โดยการต่อสู้ให้มูลค่าชดเชยเยียวยาเฉพาะในส่วนของ อสมท มีความเหมาะสมและเป็นธรรม เท่านั้น”   

ซึ่งหาก กสทช. กำหนดมูลค่าชดเชยเยียวยารวมของทั้ง อสมท และคู่สัญญา น้อยกว่าสิ่งที่ อสมท เพียงรายเดียวควรจะต้องได้ อสมท ก็จะต้องต่อสู้ให้ กสทช. เพิ่มมูลค่าดังกล่าวให้เพียงพอกับ อสมท ในขณะที่คู่สัญญาหรือผู้เสียหายรายอื่นก็ต้องไปดำเนินการต่อสู้กับ กสทช. ในสั ดส่วนของตนเองเช่นกัน

 ดังน้ันการแถลงการณ์ของประธานสหภาพแรงงาน บมจ. อสมท  “เรื่องที่ว่า อสมท ไม่ยอมกำหนดส่วนแบ่ง” แล้วนำมาเป็นเหตุผลว่า อสมท “ยอมรับสิ่งที่ กสทช กำหนด”  น้ัน จึง “ไม่เป็นความจริง” เพราะข้อเท็จจริงคือ อสมท ไม่ได้ยอมรับต้ังแต่การที่ กสทช. กำหนดมูลค่าชดเชยเยียวยาเป็ นวงเงิน รวมท้ังในส่วน อสมท และคู่สัญญา และให้ อสมท ไปกำหนดส่วนแบ่งกับคู่สัญญาเอง  ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อพิพาทระหว่าง อสมท กับคู่สัญญา แล้วสิ่งที่ อสมท “ ร้องขอ กสทช.มาโดยตลอดคือ ขอให้ชดเชย เยียวยา อสมท อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และขอให้ชดเชยเยียวยาคู่สัญญาและผู้ได้รับผลกระทบแยกไปเลยโดยตรง เพราะจะได้ไม่ก่อให้เกิดข้อพิพาจ ระหว่าง อสมท และคู่สัญญา ”  

ทั้งนี้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท  ระบุยืนยันว่าทุกการกระทำในเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่อง ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบอำนาจและความรับผิดชอบที่ถูกต้องเพื่อรักษาผลประโยชน์ขององค์กรเป็นหลักมาโดยตลอด   ดังนั้นกรณีประเด็นเรื่อง “การไม่กำหนดส่วนแบ่งค่าชดเชยเยียวยา” จึงเป็นการเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อน  พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง และผิดหลักกฎหมายและการบริหารความเสี่ยง เพราะผมยืนยันเสมอว่า อสมท “ต้องได้รับการชดเชยเยียวยาเท่าที่เราเสียหาย/เสียโอกาสจริง”  

ส่วนคู่สัญญาหรือผู้เสียหาย  รายอื่น ก็เป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องไปเรียกร้องในส่วนของตังเอง อสมท ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย  ที่จะไปกำหนดค่า ชดเชยเยียวยาให้ผู้อื่น เพราะกฎหมายได้ให้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวแก่ กสทช. อยู่แล้ว