https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2020/05/296186.jpg

‘ทีเส็บ’ เจาะทางรอดธุรกิจโรงแรมสถานที่จัดประชุมในยุคโควิด-19

by

‘ทีเส็บ’ เจาะทางรอดธุรกิจโรงแรมสถานที่จัดประชุมในยุคโควิด-19

ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. TCEB (ทีเส็บ) ส่งเสริมผู้ประกอบการไมซ์ผ่านวิกฤตโควิด-19 โดยการสนับสนุนรายละ 30,000 บาท เพื่อเตรียมความพร้อม จัดประชุมอย่างไรปลอดภัย ไร้โควิด พร้อมจัดเสวนาออนไลน์ (webinar) นำทีมผู้ประกอบการไมซ์เจาะทางรอดธุรกิจโรงแรมและศูนย์การแสดงและนิทรรศการ ภายใต้หัวข้อ “We Will Survive ทางรอดสถานที่จัดประชุมในยุคโควิด-19” ผ่านทางสัมมนาไลฟ์สดออนไลน์ Zoom หลังจากรัฐบาลโดย ศบค. ได้มีประกาศมาตรการผ่อนปรนให้เปิดกิจการและกิจกรรมในกลุ่มที่ 2 ซึ่งรวมถึงกิจการและกิจกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมไมซ์ประเภทห้องประชุมในโรงแรมและศูนย์ประชุม (ข้อฉ.) ตามเอกสารลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา คาดว่าอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ จะกลับมามีเม็ดเงินหมุนเวียนได้กว่าสามหมื่นล้านบาท

นางสาวศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรมของสสปน. (TCEB) เผยถึงบทบาทของ TCEB ในการออกมาตรการเร่งด่วน บรรเทาความเดือดร้อนและช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการไมซ์ ว่า “ทีเส็บตระหนักถึงความสำคัญของการช่วยเหลือผู้ประกอบการไมซ์เป็นอันดับหนึ่ง ในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมในภาคบริการด้านธุรกิจที่สำคัญซึ่งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ จำนวน 2 โครงการหลักในระยะแรก คือ โครงการจัดประชุมอย่างไร ปลอดภัยไร้ COVID-19 เป็นมาตรการเยียวยาระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2563 งบประมาณ 30,000 บาท มอบให้กับสถานที่ประกอบการผ่านมาตรฐาน TMVS หรือ สมาชิกสมาคมโรงแรมไทย (THA) รวม 216 ราย และ

https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2020/05/296184.jpg

โครงการที่สอง เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการในการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดงานสัมมนาและงานแสดงสินค้า Virtual Meeting Space หรือ VMS รวมถึงการประชุมสัมมนาออนไลน์ (Webinar) หรือการจัดงานประชุมและงานแสดงสินค้าผ่านออนไลน์ (หรือ โอทูโอ O2O -Offline to Online) ช่วยดันธุรกิจการแสดงสินค้าและการขายผ่านระบบออนไลน์ได้ และ E-Learning Platform การเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อปรับตัวให้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป”

ทั้งนี้มีผลสำรวจทางธุรกิจพบว่า หากรัฐบาลปลดล็อคดาวน์ ผู้ประกอบการจะสามารถจัดงานได้ไม่ต่ำกว่า 900 งาน ทั้งในส่วนของงานประชุมสัมมนา (Meeting & Incentive) การประชุมอบรม(Convention) งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibition) การจัดงานอีเวนต์ส่งเสริมธุรกิจ และ สร้างงานให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศราว 7 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าในการผลักดันเศรษฐกิจ สร้างรายได้เข้าประเทศไทยเป็นกว่า 35,000 ล้านบาท ระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 ถึง เดือนมีนาคม 2564

https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2020/05/4444-3.jpg

ในงานเสวนาออนไลน์ (Webinar) ในหัวข้อ “We Will Survive การเตรียมการจัดประชุมให้ปลอดภัยอย่างไร หลังโควิด-19” มีตัวแทนผู้ให้บริการ (สถานที่จัดงาน) และผู้ใช้บริการ (ผู้จัดงาน) ในอุตสาหกรรมไมซ์มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันแนวทางดำเนินงานในภาวะวิกฤต

มาริสา สุโกศล หนุนภักดี รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มโรงแรมในเครือสุโกศลและอุปนายกสมาคมโรงแรมไทย เผยถึงการปรับตัว ด้วยการใช้สื่อสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง “ในด้านของธุรกิจเราออกโปรโมชั่นและเน้นการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ เช่น Food Delivery or Pick up food และส่งข้อความห่วงใยถึงลูกค้าตลอดเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่มี และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดห้องประชุมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้เหมาะสม และได้ทำสื่อเผยแพร่ออนไลน์ สร้างความมั่นใจต่อการจัดการของโรงแรม ให้กับผู้เข้าใช้บริการ”

https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2020/05/296185.jpg

ณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ตัวแทนจาก บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทนำเข้าจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางด้าน Network Infrastructure ในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต และระบบสื่อสาร เน้นย้ำถึงความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการจัดงาน และทางบริษัทได้การออกแคมเปญเพื่อดึงลูกค้าว่า “เราใช้แคมเปญ INTERLINK Virtual Event ให้ลูกค้าเรายังสามารถมาร่วมงานกับเราได้อย่างต่อเนื่อง มีการร่วมกิจกรรม เล่นเกม แจกของรางวัล และเอาเครื่องมือที่อู่บนโลกออนไลน์มาปรับใช้ได้ทั้งหมด แต่ต่อไปจะปรับเป็น Hybrid Event โดยจัดสัมมนาตามสถานที่ต่าง ๆ ควบคู่การทำออนไลน์สำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางด้วย”

ขณะที่ สุรเชษฐ วรวงศ์วสุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรดดี้ ทู รี๊ด จำกัด ผู้จัดงานมหกรรมหนังสือขนาดใหญ่ อย่างมหกรรมหนังสือบิ๊กแบ๊ดวู๊ฟ (Big Bad Wolf) ได้เผยถึงการปรับตัวรับสถานการณ์ว่าได้ปรับแผนจากเดิมที่เป้นงานจัดงานใน 45 ประเทศ ทั่วโลก รวมถึงในไทยที่อิมแพคเมืองทองธานี กับตัวเลขผู้เข้าชมงานและซื้อหนังสือประมาณกว่า 2 แสนคน แต่ต้องเปลี่ยนเป็นรูปแบบการแสดงสินค้าและขายสินค้าออนไลน์ ที่มีการจัดระบบและลดราคาตลอดปี “ที่มาเลเซียเราเริ่มการจำหน่ายหนังสือช่องทางออนไลน์ หนังสือให้เลือกหลายหมวดหมู่ พร้อมส่วนลด 50-80% ตลอดปี และลูกค้าชาวไทยสนใจสั่งซื้อหนังสือผ่านช่องทางนี้มากขึ้น ในระหว่างนี้เรากำลังหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการจัดส่งหนังสือไปยังลูกค้าอีกด้วย” สุรเชษฐ กล่าว

ทาลูน เทง กรรมการผู้จัดการ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ได้รับผลกระทบจากช่วงโควิด-19 สูญรายได้จากการจัดงานประชุม คอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ กว่า 100 งาน ได้ชี้ทางรอดด้วยการลดค่าใช้จ่ายและมุ่งดำเนินงานเน้นความปลอดภัยว่า “เพราะทางรอยัล พารากอน ฮอลล์ ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า เราจึงทำมาตรการดูแลอย่างเข้มงวดด้าน Health, Safety, Sanitization และ Sustainability (H3S) และจะดำเนินธุรกิจไมซ์ ไปตามกระแสของทั่วโลก หรือที่เรียกว่าไฮบริดไมซ์ ( Hybrid MICE) มีการใช้เทคโนโลยีและให้บุคลากรทำงานจากที่บ้านได้มากขึ้น”

https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2020/05/296187.jpg

นอกจากนี้อรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ TCEB ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ทาง TCEB ยังเดินหน้ากับแผนงานสร้าง Trust Economy เน้นสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ให้บริการ (Venue) และผู้ให้บริการ (Organizer) พัฒนามาตรฐานที่เชื่อถือได้ ควบคู่การเสริมสร้างความมั่นใจในการกลับมาของธุรกิจของผู้ประกอบการไมซ์ ที่ได้มาตรฐาน TMVS และผ่านมาตรการที่ได้รับการแนะนำและรับรองจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข” โดยกล่าวย้ำว่ารูปธรรมการดำเนินงานคือ “เราต้องทำให้เกิดสิ่งที่เรียกกันว่า Trust Economy ช่วยสนับสนุน Trust Infrastructure หรือ Trust service ซึ่ง สสปน. เราได้มีการจัดทำแนวปฏิบัติ MICE Hygiene Guidelines คู่มือแนวปฎิบัติสำหรับการจัดงานไมซ์เพื่อให้ตอบรับกับการดำเนินธุรกิจในฐานวิถีชีวิตใหม่ รวมถึงโครงการและกิจกรรมอื่น ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป”

สำหรับโครงการสนับสนุนรายละ 30,000 บาท ของ สสปน. เพื่อเตรียมความพร้อม “จัดประชุมอย่างไรปลอดภัย ไรโควิด” เป็นโครงการเพื่อเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไมซ์ก่อนเปิดสถานที่หรือสถานประกอบการในจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน ตามแนวทางรัฐบาล โดยผู้ประกอบการสถานที่การจัดงาน สามารถ Download ใบสมัครได้ที่ http://www.micecapabilities.com/…/atta…/COVID-19_2104631.pdf