https://s.isanook.com/mn/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL21uLzAvdWQvMTQ2LzczNDczOS9wYXltb25leS5qcGc=.jpg

เงินเดือนเด็กจบใหม่ "ไฉไล" กว่าเมื่อก่อน ส่องดูก็รู้ตลาดแรงงานต้องการ "ไอที"

นางธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย ผู้ให้บริการทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจร เผยถึงรายงาน "Salary Guide 2020" คู่มือฐานเงินเดือนประจำปี 2563 พบว่าอาชีพโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ เป็นอาชีพทำเงินสูงสุดสำหรับเด็กจบใหม่ในปีนี้ โดยมีเงินเดือนสูงสุดที่ 40,000 บาท

https://s.isanook.com/mn/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL21uLzAvdWQvMTQ2LzczNDczOS9hZGVjY28tdGhhaWxhbmQtc2FsYXJ5LWd1aWRlLS5qcGc=.jpg

เนื่องจากเป็นสายงานที่ตลาดมีความต้องการสูง ซึ่งหลายๆ บริษัท และองค์กรต่างต้องการพัฒนาเว็บไซต์ รวมถึงแอปพลิเคชั่นเป็นจองตนเอง หากเด็กจบใหม่มีความสามารถเขียนโปรแกรม สื่อสารภาษาอังกฤษได้ มีโอกาสที่จะได้รับเงินเดือนเริ่มต้นสูงถึง 40,000 บาท หรือมากกว่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเงินเดือนของแต่ละบริษัทด้วย

สำหรับอาชีพที่มีเงินเดือนรองลงมา อยู่ที่ 35,000 บาท ได้แก่ Sales Engineer, Project Coordinator, Personal Assistant, เลขานุการ, ล่ามภาษาญี่ปุ่น และตำแหน่งงานด้านการขายที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น

เมื่อเทียบกับเงินเดือนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว พบว่าฐานเงินเดือนพนักงานออฟฟิศของเด็กจบใหม่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากเดิมต่ำสุดที่ 9,000 บาท มาเริ่มต้น 12,000 บาท และสูงสุดที่ 40,000 บาท โดยปีนี้พบว่า เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่จะได้เงินเดือนราว 18,000-25,000 บาท

นอกจากนี้ เงินเดือนผู้บริหารระดับสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดทุกตำแหน่ง สาเหตุมาจากบริษัท หรือองค์กรต้องการคนเก่งเข้ามาบริหารงาน และเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้าน Digital Transformation แต่ด้วจำนวนผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันมีจำกัด และตลาดแรงงานค่อนข้างขาดแคลนทำให้เกิดการแข่งขันสูงมาก

https://s.isanook.com/mn/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL21uLzAvdWQvMTQ2LzczNDczOS9hZGVjY28tdGhhaWxhbmQtc2FsYXJ5LWd1aWRlLV8xLmpwZw==.jpg

ทางบริษัทจึงต้องเพิ่มค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารระดับสูงเพื่อดึงดูดและรักษามือดีให้มากขึ้น สอดคล้องกับเทรนด์โลกที่พบว่าเงินเดือนระหว่างพนักงานระดับปฏิบัติการ กับผู้บริหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ
ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ที่ทำให้กลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ ถูกทดแทนด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดภาวะแรงงานล้นตลาด

ส่วนผู้บริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูงและมีทักษะทางด้านดิจิทัลเกิดภาวะขาดแคลน ทำให้อัตราค่าตอบแทนของพนักงานในกลุ่มผู้บริหารพุ่งสูงขึ้น และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่างานในตำแหน่งอื่นๆ

สำหรับแนวโน้มการจ้างงานในปัจจุบันจึงมีการจ้างงานในรูปแบบฟรีแลนซ์เข้ามาผสมผสานกันมากขึ้นเพื่อลดรายจ่ายประจำของบริษัท ส่วนการจ้างงานในรูปแบบพนักงานประจำ องค์กรก็ต้องการพนักงานที่มีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น

นอกจากเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าแล้ว ยังเป็นเพราะธุรกิจในปัจจุบันมีการ Disruption อยู่ตลอดเวลา องค์กรจึงต้องการพนักงานที่มีความรู้และทักษะรอบด้านเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น หากคุณทำงานในสายการตลาด นอกจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสายงานที่ต้องมีแล้ว ทุกวันนี้คุณยังจำเป็นต้องมีทักษะด้านดิจิทัล ทักษะด้านการออกแบบ และมีความรู้ความเข้าใจในงาน IT หรือ E-Commerce เพิ่มเติมด้วย

ทั้งนี้ ในอนาคตแนวโน้มของการกำหนดอัตราเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับทักษะของผู้สมัครมากกว่าใบปริญญา เพราะความรู้ที่เรียนมาจะล้าหลังกว่าความรู้ในโลกการทำงานจริง ใบปริญญาจึงวัดอะไรไม่ได้ไม่มากนัก สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณมีความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการแค่ไหน ดังนั้นหากอยากก้าวหน้าในยุคนี้สิ่งสำคัญที่คนทำงานต้องมีคือการหมั่นเรียนรู้และพัฒนาทักษะอยู่เสมอ ทั้งการเสริมทักษะใหม่ (Upskilling) และพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ (Reskilling) ทักษะที่เหล่านี้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวคุณ ทำให้องค์กรยอมจ่ายเงินเดือนที่สูงขึ้นและผลักดันคุณสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในองค์กร