‘เอเซอร์’ ปฏิวัติธุรกิจ เขย่าโครงสร้าง รุกขยายลูกค้า ‘ภาครัฐ-องค์กร’

by

เอเซอร์ รุกปรับโมเดลธุรกิจ ชูกลยุทธ์ Dual Transformation ลุยเจาะลูกค้าองค์กร-ภาครัฐ ควบผู้ใช้ทั่วไป เผยไมโครเทรนด์ ขับเคลื่อนสร้างแบรนด์ใหม่ ตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะกลุ่ม

นายอลัน เจียง กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดไชน่า บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2563 นี้ เอเซอร์ได้ปรับกระบวนการทำงานทั้งภายในและการทำธุรกิจภายนอกใหม่ เพื่อให้สอดรับกับการเติบโตของเทคโนโลยี  และความต้องการของลูกค้าทั้งในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป และกลุ่มลูกค้าองค์กร

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/02/ARR_2931.jpg

สำหรับเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาททั้งในชีวิตประจำวัน และภาคธุรกิจ ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), แมชชีน เลิร์นนิ่ง, ไฮบริด คลาวด์, บล็อกเชน, เอดจ์ คอมพิวติ้ง รวมถึงเทคโนโลยี 5G ที่จะเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของ “ดิจิทัลทรานฟอร์มเมชั่น” ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยีต่างๆ ให้กลายเป็นความจริง

จากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้เอเซอร์เห็นโอกาสและศักยภาพของเอเซอร์ในการนำเสนออุปกรณ์ โซลูชั่นต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ใช้งานมีความพร้อมและความมั่นใจในการใช้งานด้านต่างๆ ด้วยการนำเสนอผ่านกลยุทธ์ “Dual Transformation”

ทั้งนี้ “Dual Transformation” เป็นการนำจุดแข็งทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บริการ โดยร่วมกับพาร์ทเนอร์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่จะช่วยในการยกระดับและสร้างประสบการณ์ตรงให้กับผู้บริโภคทำให้เกิดธุรกิจใหม่ (Create Multiple Business engine) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ทรานส์ฟอร์เมชั่น เอ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรและหน่วยงานภาครัฐ และ ทรานส์ฟอร์เมชั่น บี เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไป

นายนิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด เอเซอร์ กล่าวเสริมว่า สำหรับกลยุทธ์ ทรานส์ฟอร์เมชั่น เอ ได้ปรับองค์กรเพื่อรองรับกลยุทธ์ดังกล่าว ด้วยการตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ “ESG” ขึ้น เพื่อพัฒนาโซลูชั่นสำหรับองค์กรและหน่วยงานภาครัฐ โดยแตกบริษัทในเครือที่มีความสามารถหลากหลายมาพัฒนาโซลูชั่นตามความต้องการของลูกค้า เริ่มจากสถาบันการศึกษา โดยพัฒนาและให้บริการด้านการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/02/ARR_3596.jpg
https://www.thebangkokinsight.com/wp-content/uploads/2020/02/ARR_2894.jpg

ด้านนายสุพงศ์ ตั้งตรงเบญจศีล รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก กล่าวว่า ในส่วนของ ทรานส์ฟอร์เมชั่น บี ที่เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไป หรือ ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันลูกค้ากลุ่มนี้ปัจจัยที่เหมือนกันคือ ความต้องการความสะดวกสบายในการใช้งาน และความต้องการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ขณะที่ เอเซอร์ มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Acer Aspire สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป, Acer Nitro สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานทั่วไปและเล่นเกมในแบบแคชชวล หรือ Acer Swift สำหรับผู้ต้องการความสะดวกในการพกพาด้วยดีไซน์บางเบา

นอกจากนี้ การเติบโตของกลุ่มเกมมิ่งดีไวซ์อย่าง Predator ที่มีทั้ง Notebook, Desktop, Monitor และ Gaming gear เมื่อเจาะลึกลงไปในผู้ใช้งาน Predator แล้วพบว่ามีกลุ่มผู้ใช้งานอื่นๆ ที่เป็น ไมโครเทรนด์ อยู่ในกลุ่มผู้ใช้งาน Predator ด้วย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องการอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีดีไซน์ที่สอดรับกับ งานครีเอเตอร์ในด้านต่างๆ

ดังนั้น เอเซอร์จึงตอบโจทย์นี้ด้วยการเปิดตัวแบรนด์ ConceptD เมื่อเร็วๆ นี้ นอกจากการเปิดตัวแบรนด์ ConceptD แล้ว เอเซอร์ยังพบความต้องการใช้งานอุปกรณ์ที่มีความแข็งแรง สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อม สู่การพัฒนา Acer Enduro ที่มีทั้งโน้ตบุ๊ค วินโดวส์แท็บเล็ต และแอนดรอย์แท็บเล็ต ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากความต้องการใช้งานของผู้บริโภคทั้งสิ้น

อุตสาหกรรมอีสปอร์ตก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่เอเซอร์มุ่งมั่นในการสนับสนุนอุตสาหกรรมอีสปอร์ตมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการให้การสนับสนุนทางด้านการเรียนการสอนด้วยการจับมือกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการจัดทำ Predator Lab เพื่อเปิดประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาในการใช้อุปกรณ์ในการสร้างสรรชิ้นงานทางด้านเกมต่างๆ เป็นต้น

Share