https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2020/01/c.files_.bbci_.co_.uk_110233426_gettyimages-11-5626ae5dfa575c3e39016d37d041182f365bd1b7-1.jpg
Getty Images

เบร็กซิท : ช่วงเปลี่ยนผ่าน คืออะไรและจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

by

เบร็กซิท : ช่วงเปลี่ยนผ่าน คืออะไรและจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง – BBCไทย

หลังเป็นสมาชิกมา 47 ปี สหราชอาณาจักรจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (อียู) อย่างเป็นทางการในเวลา 23.00 น. ตามเวลาในสหราชอาณาจักร หรือเวลา 24.00 น. ตามเวลาในกรุงบรัสเซลส์ ของวันที่ 31 ม.ค.นี้

โดยหลังจากวันนี้ สหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” (transition period) แต่ช่วงเวลานี้หมายความว่าอย่างไรและจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บีบีซีมีคำอธิบาย

ช่วงเปลี่ยนผ่านคืออะไร

ช่วงเปลี่ยนผ่านจะดำเนินไปถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2020

ในช่วงนี้ สหราชอาณาจักรจะยังคงอยู่ในสหภาพศุลกากรอียู และเขตตลาดเดียวของอียู นั่นหมายถึงการที่กฎระเบียบส่วนใหญ่จะยังคงเป็นเช่นเดิมจนกว่าช่วงเปลี่ยนผ่านจะสิ้นสุดลง ซึ่งรวมถึงเรื่องต่อไปนี้ :

เมื่อช่วงการเปลี่ยนผ่านเริ่มต้นขึ้น สหราชอาณาจักรจะสูญเสียสมาชิกภาพของตนในสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ของอียู เช่น รัฐสภายุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป

ดังนั้น ในขณะที่สหราชอาณาจักรจะไม่มีสิทธิ์ลงมติออกเสียงใด ๆ ในสถาบันทางการเมืองของอียู แต่ก็ยังจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของอียูต่อไป และศาลยุติธรรมสหภาพยุโรปจะมีสิทธิ์ชี้ขาดในข้อพิพาททางกฎหมายต่าง ๆ

นอกจากนี้ พลเมืองสหราชอาณาจักรจะพ้นจากการเป็นพลเมืองยุโรปด้วย

การเปลี่ยนผ่านยังหมายความว่าสหราชอาณาจักรจะยังคงจ่ายเงินสมทบให้อียูต่อไป



https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2020/01/c.files_.bbci_.co_.uk_110709649_1111brexit_flo-735210fc6720d1558020532de50083b34ff67918.png
BBC

เหตุใดจึงมีความจำเป็นต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่าน

แนวคิดเรื่องช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้เพื่อให้มีเวลาสำหรับการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคต และข้อตกลงใหม่ระหว่างสหราชอาณาจักรและอียู หลังจากวันที่สหราชอาณาจักรถอนตัวออกไปในวันที่ 31 ม.ค.นี้

ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้กำหนดกรอบเป้าหมายคร่าว ๆ เรื่องนี้ไว้แล้วในคำประกาศทางการเมืองที่มีเนื้อหา 27 หน้า

มีอะไรบ้างที่ต้องจัดการให้เสร็จลุล่วงในช่วงนี้

สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-อียู หากสหราชอาณาจักรยังคงต้องการทำการค้ากับอียูต่อไปโดยไร้ภาษีศุลกากร, โควตา หรืออุปสรรคทางการค้าอื่น ๆ หลังผ่านพ้นช่วงการเปลี่ยนผ่านไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงการค้าเสรีจะไม่ขจัดการตรวจสอบด้านศุลกากรระหว่างอียูกับสหราชอาณาจักรออกไป ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือในเรื่องนี้

ในปี 2018 การค้าของสหราชอาณาจักร (สินค้าและบริการ) มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.3 ล้านล้านปอนด์ ซึ่งในจำนวนนี้ 49% เป็นการค้ากับอียู

นอกจากนี้ ช่วงการเปลี่ยนผ่านยังเป็นโอกาสที่สหราชอาณาจักรจะได้เปิดการเจรจาการค้าอย่างเป็นทางการกับประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จลุล่วงทันเวลา ข้อตกลงการค้าเหล่านี้ก็จะมีผลบังคับใช้เมื่อช่วงการเปลี่ยนผ่านสิ้นสุดลง

ฝ่ายสนับสนุนเบร็กซิทกล่าวอ้างมานานว่า การให้อิสระสหราชอาณาจักรได้กำหนดนโยบายการค้าของตนเองได้นั้นจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แม้นักวิจารณ์คนอื่น ๆ จะระบุว่าการคงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอียูมีความสำคัญกว่า

นอกจากเรื่องการค้า อียูและสหราชอาณาจักรยังต้องตัดสินใจเรื่องความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ในอนคตด้วย เช่น

สหราชอาณาจักรจะต้องกำหนดและจัดเตรียมระบบใหม่หลายอย่าง เช่น วิธีจัดการคนเข้าเมืองเมื่อเสรีภาพในการเดินทางระหว่างสองฝ่ายสิ้นสุดลง

เบร็กซิทจะเป็นอย่างไรภายหลังช่วงเปลี่ยนผ่าน

ความเป็นไปได้ในเรื่องนี้มี 3 รูปการด้วยกัน คือ

ข้อตกลงการค้าสหราชอาณาจักร-อียู มีผลบังคับใช้

หากข้อตกลงการค้าระหว่างสองฝ่ายเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ สหราชอาณาจักรก็อาจเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการค้ารูปแบบใหม่กับอียูได้เมื่อช่วงเปลี่ยนผ่านสิ้นสุดลง

หากสามารถบรรลุข้อตกลงการค้ากันได้ แต่ยังมีประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้ในด้านอื่น เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคงในอนาคต ข้อตกลงการค้าก็ยังจะสามารถมีผลบังคับใช้ได้ อย่างไรก็ตาม อาจมีการใช้แผนการสำรองในประเด็นอื่น ๆ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย

สหราชอาณาจักรออกจากช่วงเปลี่ยนผ่านโดยไร้ข้อตกลงกับอียู

ในรูปการนี้ สหราชอาณาจักรและอียูไม่สามารถบรรลุการเจรจาและบังคับใช้ข้อตกลงการค้าได้ภายในวันที่ 1 ม.ค. 2021 อีกทั้งไม่มีการทำข้อตกลงขยายช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านออกไปอีก

นี่หมายความว่า สหราชอาณาจักรจะต้องทำการค้ากับอียูภายใต้เงื่อนไขขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งจะทำให้สินค้าส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักรจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรจนกว่าจะมีการนำข้อตกลงการค้าเสรีมาใช้

หากทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ ประเด็นเหล่านี้ก็จะต้องดำเนินการไปตามเงื่อนไขแบบไร้ข้อตกลง

มีการขยายช่วงเปลี่ยนผ่านในขณะที่การเจรจายังคงดำเนินต่อไป

หากสองฝ่ายใกล้จะบรรลุข้อตกลงการค้าแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปในขั้นสุดท้าย นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ก็อาจตัดสินใจขอขยายกรอบเวลาการเปลี่ยนผ่านออกไป (ได้นานเท่าที่อียูเห็นชอบ)

ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Withdrawal Agreement) จะสามารถขยายช่วงเปลี่ยนผ่านไปได้ 12 หรือ 24 เดือน แต่หากสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เร็วกว่านั้น ช่วงเปลี่ยนผ่านก็จะสิ้นสุดลงได้เร็วขึ้นเช่นกัน

ข้อตกลงถอนตัวออกจากสหภาพยุโรประบุว่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องเห็นพ้องเรื่องการขยายช่วงเปลี่ยนผ่านภายในวันที่ 1 ก.ค. 2020

อย่างไรก็ตาม รูปการนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะกฎหมายที่ผ่านสภา จะไม่อนุญาตให้ขยายช่วงเปลี่ยนผ่านออกไป และนายกรัฐมนตรีจอห์นสันก็เคยประกาศว่าจะไม่อนุมัติเรื่องนี้

แม้นายจอห์นสันได้ให้คำมั่นว่าจะ “ทำเบร็กซิทให้ลุล่วง” ภายในวันที่ 31 ม.ค. 2020 แต่ยังคงมีการเจรจากับอียูที่ยืดเยื้ออีกหลายเดือนรอเขาอยู่ข้างหน้า