ตบปากไอ้ห้อยไอ้โหน! “ดร.กิตติธัช” งัด “ข้อมูลจริง” โต้ “ข่าวเท็จ” นักกวนเมือง สำทับ “เหรียญมีสองด้าน”
by ผู้จัดการออนไลน์“ดร.กิตติธัช” ตบปากไอ้ห้อยไอ้โหนกระแสไวรัสโคโรนา เล่นเกมการเมืองปล่อยข่าวบิดเบือนความจริง งัด “ข้อมูลจริง” มาโต้ ย้อนเจ็บ พวกเร่งรัดไปรับนักศึกษาไทยกลับบ้าน มีตัวอย่างนายกฯญี่ปุ่นกำลังถูกโจมตี สำทับ “เหรียญมีสองด้าน”
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้(31 ม.ค.63) เฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith ของดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้านปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความ ระบุว่า
“ความเสี่ยงเมื่อคุณต้องการอพยพพลเมืองออกจากพื้นที่ระบาดของโรค โดยไม่สนต่อข้อปฏิบัติตามหลักสาธารณสุขของ WHO ที่ต้องควบคุมและจำกัดวงการแพร่ระบาดของไวรัสให้อยู่ในพื้นที่
ปัจจุบัน นายกฯ ญี่ปุ่น กำลังโดนโจมตีอย่างหนักว่า รีบเอาเครื่องบินไปรับคนป่วยกลับมา พร้อมกับปล่อยให้หลายคนกลับบ้าน โดยไม่มีมาตรการควบคุม นอกจาก "ขอความร่วมมือ" ไม่ให้ออกนอกบ้าน
(ทั้งที่บุคคลเหล่านี้มีโอกาสอยู่ในระยะฟักเชื้อ และแพร่ไวรัสไปทั่วประเทศญี่ปุ่นได้)
แน่นอนว่า การทำเช่นนี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมัน เหรียญมีสองด้าน ด้านหนึ่งอาจได้ใจประชาชนว่ารีบดูแลพลเมือง อีกด้านอาจโดนโจมตีเรื่องการละเลยความเสี่ยงด้านสาธารณสุข
ซึ่งก็บอกไม่ได้ว่าอย่างใดดีกว่ากัน อย่างใดถูกหรือผิดกว่ากันชัดเจน เพราะเรื่องราวในโลก ไม่ใช่การใช้แต่หลักเหตุผลมาตัดสินเพียงอย่างเดียว เพราะการบริหารความเชื่อมั่นและกำลังก็เป็นเรื่องสำคัญ
นอกจากนี้ เฟซบุ๊กดังกล่าว ยังอ้างสาระสำคัญจาก เพจเฟซบุ๊ก Thailand Vision
ที่เนื้อหาระบุว่า “วันที่ 30 มกราคม 2020 สำนักข่าว The Japan Times รายงานว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในกลุ่มชาวญี่ปุ่นที่นั่งเครื่องบินอพยพออกมาจากเมืองอู่ฮั่นของประเทศจีน
เที่ยวบินแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดหาให้ชาวญี่ปุ่น 206 คน ใช้โดยสารเพื่ออพยพออกจากเมืองอู่ฮั่น (ทุกคนจ่ายคนละ 80,000 เยน) เมื่อเดินทางมาถึงกรุงโตเกียว ปรากฏว่า ในจำนวนผู้โดยสารชาวญี่ปุ่น 206 คน พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 3 ราย โดยที่ผู้ติดเชื้อ 1 รายแสดงอาการอย่างชัดเจน แต่อาการยังทรงตัวอยู่ ส่วนผู้ติดเชื้ออีก 2 รายยังไม่แสดงอาการ
กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น ยังเปิดเผยอีกด้วยว่า เที่ยวบินที่สองที่รัฐบาลส่งไปเมืองอู่ฮั่นนั้น มีชาวญี่ปุ่นทั้งสิ้น 210 คน และเที่ยวบินที่สองก็ได้เดินทางมาถึงกรุงโตเกียวแล้วเช่นกัน แต่มีบางคนที่เริ่มแสดงอาการออกมา เช่น การไอ แต่ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่า มีผู้ติดเชื้อในเที่ยวบินที่สองกี่ราย
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ในญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อ 2 รายที่ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น เป็นหญิงชาวต่างชาติอายุประมาณ 40 ปี อาชีพไกด์นักท่องเที่ยว และชายชาวญี่ปุ่นอายุประมาณ 60 ปี อาชีพคนขับรถบัสนักท่องเที่ยว ซึ่งพนักงานทัวร์ท่องเที่ยวทั้ง 2 ราย ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่น เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อีกสิ่งหนึ่ง ที่เป็นปัญหาในการตรวจหาผู้ติดเชื้อก็คือ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามารถบังคับให้ชาวญี่ปุ่นทุกคนที่อพยพมาจากเมืองอู่ฮั่น เข้ารับการตรวจหาเชื้อ เนื่องจากญี่ปุ่น ไม่มีกฎหมายที่จะบังคับใช้กับผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ เว้นเสียแต่ว่าผู้ต้องสงสัยเริ่มแสดงอาการป่วย โดยมีชาวญี่ปุ่นจากเมืองอู่ฮั่น 2 คน ที่ปฏิเสธไม่ให้ตรวจหาเชื้อในร่างกาย
ประเด็นด้านกฎหมาย ที่ไม่มีอำนาจบังคับใช้กับผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ สร้างความกังวลไม่น้อยให้กับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ แต่อย่างไรก็ตาม นายอาเบะกล่าวกับสื่อเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า “เราจะให้ความสำคัญกับสุขอนามัยและความปลอดภัยของประชาชน มาเป็นอันดับหนึ่ง และเราจะตัดสินใจดำเนินการในสิ่งที่จำเป็นโดยไม่ลังเล”
เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีอำนาจ ในการบังคับผู้ต้องสงสัยให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัส และผู้ต้องสงสัยก็มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่จะปฏิเสธทางการญี่ปุ่นไม่ให้ตรวจหาเชื้อ จึงมีประชาชนชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่ง ได้จัดตั้งพื้นที่กักกันโรคด้วยตนเอง (self-quarantine) เพื่อบังคับให้ผู้โดยสารทั้งหมดที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ให้อยู่ในพื้นที่กักกันที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้โดยสาร 2 รายที่ปฏิเสธไม่ให้ตรวจหาเชื้อ ก็ถูกกักกันเช่นกัน
ทั้งนี้ ขณะที่ประชาชนชาวญี่ปุ่นจัดตั้งพื้นที่กักกันด้วยตนเอง ทางด้านรัฐบาลรัฐบาลญี่ปุ่นเอง ก็กำลังวางแผนที่จะใช้พื้นที่ของวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติ (National Police Academy) เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้โดยสารที่อพยพมาจากเมืองอู่ฮั่น
แหล่งข้อมูล
https://www.japantimes.co.jp/news/2020/01/30/national/three-japanese-wuhan-coronavirus/ https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000009910
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ท่ามกลางปัญหา “ข่าวปลอม-ข่าวจริง” ในโลกออนไลน์แพร่สะพัด จนสร้างความสับสนให้กับประชาชนคนไทยอย่างมาก เนื่องจากคนที่ปล่อยข่าวและขยายผลส่วนหนึ่งมาจากทั้งสำนักข่าวชื่อดังของประเทศ และนักการเมืองฝ่ายค้านที่ประชาชนให้ความเชื่อถือนั้น
เฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith ก็เคยออกมาเสนอแนะว่า
“สำนักข่าวไทยควรทำภาพให้เข้าใจง่ายๆ และจบในภาพเดียว เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถึงการดำเนินการพลเมืองประเทศต่างๆ ที่ติดอยู่ในเมืองอู่ฮั่น
ตัวอย่างภาพของสำนักข่าว APF (โดยในแผนภาพที่ใช้ประกอบนั้น มีการให้ข้อมูลอย่างชัดเจนดังนี้)
ประเทศที่วางแผนและได้รับอนุมัติขนย้ายแล้ว
- สหรัฐอเมริกา 240 คนส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่กงสุล
- ญี่ปุ่น 200 คน แต่ยังมีจะอพยพอีกราว 650 คน
- ฝรั่งเศส 240 และชาติอียู 100 คน ได้คิววันศุกร์
- เกาหลีใต้ รายๆ ร้อยคน ได้คิววันพฤหัส-ศุกร์
- สิงคโปร์ 20 คน(เจ้าหน้าที่สายการบิน) ได้คิววันจันทร์
- ศรีลังกา อนุมัติแล้วแต่ยังไม่กำหนดวัน
- โมร็อคโค อนุมัติแล้วแต่ยังไม่กำหนดวัน
ประเทศที่ยื่นเรื่องและรอจีนอนุมัติตามลำดับ
- ไทย
- อินเดีย
- รัสเซีย
ประเทศที่ยังไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการ
- เยอรมัน
- สเปน
- อินโดนีเซีย
- ฟิลิปปินส์
- ออสเตรเลีย
หมายเหตุ: เครื่องบินที่ไปรับเป็นเครื่องบินพานิชย์ โดยพลเมืองสหรัฐฯ ที่ขอออกมาพร้อมเจ้าหน้าที่กงสุล ต้องจ่ายค่าตั๋วราว 30,000 บาท ส่วนญี่ปุ่นต้องจ่ายประมาณ 22,500 บาท ในการเดินทาง
ที่มาภาพข่าว:
https://www.afp.com/…/japan-us-ready-evacuations-china-viru…
ทั้งนี้ข่าวล่าสุด(31 ม.ค.63) - มีรายงานว่ารัฐบาลจีนได้จัดลำดับให้รัฐบาลไทยเดินทางไปรับคนไทยกลับประเทศได้ในวันที่ 1ก.พ.63 เวลา 06.00 น.
วันนี้(31 ม.ค.63)เช่นกัน เฟซบุ๊กKittitouch Chaiprasith โพสต์ข้อความอีกครั้ง ระบุว่า
“ถ้าเราตัดการปั่นกระแสดราม่า เพื่อเอามาเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการโจมตีภาครัฐ รวมถึงการอยากแสดงตัวตนโดยขาดความรู้และข้อมูลของคนบางกลุ่มในโลกออนไลน์ออกไป
เราจะพบว่า กระแสตอบรับจากนานาชาติ ต่อการรับมือการระบาดไวรัสโคโรนนาของประเทศไทยนั้น ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ทั้งทูตจีน ทั้งนักระบาดวิทยาฮ่องกง ต่างชื่นชม
ในขณะที่ปัจจุบันไทยก็จัดอยู่ในอันดับ 6 ของโลกในการรับมือโรคระบาดจากข้อมูลการประเมินของ Global Heath Index
(นักระบาดวิทยาฮ่องกงชมไทยรับมือ “ไวรัสอู่ฮั่น”
https://www.newtv.co.th/news/48527
https://www.komchadluek.net/news/regional/413814
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3494381)
(ทูตจีนพอใจ แพทย์ไทยดูแล 'ผู้ป่วยไวรัสโคโรน่า' ดีเยี่ยม
https://www.springnews.co.th/thailand/609033
https://www.komchadluek.net/news/politic/413721
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864242)
ดังนั้น โพสต์เฟซบุ๊กของ “ดร.กิตติธัช” จึงสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีคนอีกจำนวนมากที่เหลืออดกับข่าวปลอม การนำเอาข้อมูลบิดเบือนมาขยายผล ทั้งที่ข้อเท็จจริงเป็นคนละเรื่อง นอกจากนี้ ยังมีพวกนักกวนเมือง ปั่นกระแสด้วยความคิดเห็นส่วนตัวอีกจำนวนมากที่จับแพะชนแกะวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงออกด้วยความสะใจในการโหนกระแสโจมตีรัฐบาล หรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตอบโต้ด้วยข้อเท็จจริง เพื่อให้สถานการณ์ของโรคอยู่ในความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อง่ายต่อการควบคุมและดูแลประชาชน
ขนาดนี้แล้ว ถ้าไอ้ห้อยไอ้โหน ยังไม่รู้สึกนึกว่า ตัวเองผิดอะไร ควรหรือมิควรโหนกระแสด้วยข่าวเท็จ ก็ให้สังคมและประชาชนเป็นผู้ตัดสินก็แล้วกัน ว่าจะยังเชื่อถือได้หรือไม่